ความปลอดภัยในห้องปฎิบัติการ


ข้อปฏิบัติทั่วไปในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ

  • การเตรียมสารเคมีพวก กรด ด่าง หรือสารระเหย ควรทำในตู้ดูดควัน
  • เทกรดลงน้ำ  ห้ามเทน้ำลงกรด
  • ไม่ใช้จุกแก้ว กับขวดบรรจุสารละลายด่าง เพราะจุกจะติดกับขวดจนเปิดไม่ได้
  • ไม่ใช้จุกยางกับขวดบรรจุตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น แอลกอฮอล์ อะซีโตน
  • ห้ามใช้เปลวไฟในการให้ความร้อนแก่ของเหลวไวไฟ หรือในขบวนการกลั่น
  • ให้ความระมัดระวังในการจุดไฟในห้องปฏิบัติการ ดับไฟทันทีเมื่อเลิกใช้งาน ไม่ควรปล่อยให้ไฟติดทิ้งไว้โดยไม่มีคนดู
  • ก่อนที่จะทำการจุดไฟ ควรย้ายวัสดุไวไฟออกจากบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ควรแน่ใจว่าได้ปิดภาชนะที่บรรจุของเหลวไวไฟอย่างดีแล้ว
  • ควรเก็บสารเคมีไวไฟในตู้สำหรับเก็บสารเคมีไวไฟโดยเฉพาะ
  • หลีกเลี่ยงการสูดดมไอระเหยของสารเคมี ห้ามทดสอบชนิดของสารเคมีโดยยกดมกลิ่นโดยตรงอย่างเด็ดขาด
  • การดูดสารละลายโดยใช้ปิเป็ต ห้ามใช้ปากดูด ให้ใช้ลูกยาง
  • ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ
  • ในกรณีที่มีสารระเหยไวไฟ (Volatile flammable material) ควรใช้ตู้ดูดควันในการถ่ายเท  ผสม หรือ ให้ความร้อนสารเคมี
  • กรณีสามารถเลือกใช้สารเคมีได้  ควรเลือกใช้สารเคมี ที่มีความเป็นพิษน้อยที่สุด ใน ปริมาณน้อยที่สุดเท่าที่พึงกระทำได้
  • อ่านคู่มือ และเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เมื่อต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสารก่อมะเร็ง
  • หากผิวหนังถูกสัมผัสโดยสารเคมี ต้องล้างออกโดยทันทีด้วยน้ำประปา หรือน้ำสะอาด อย่างน้อย 15 นาที
  • เมื่อเลิกปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ควรล้างมือด้วยสบู่ และน้ำสะอาด
  • ห้ามดื่ม  กิน  เคี้ยวหมากฝรั่ง สูบบุหรี่ หรือ แม้แต่ทาเครื่องสำอางในห้องปฏิบัติการ
  • ห้ามนำเครื่องดื่ม อาหาร บุหรี่ และเครื่องสำอางเข้ามาเก็บในบริเวณห้องปฏิบัติการ
  • ห้ามใช้เครื่องไมโครเวฟในห้องปฏิบัติการเพื่อเตรียมกาแฟ  อาหาร
  • ห้ามใช้ตู้เย็นในห้องปฏิบัติการเพื่อเก็บอาหาร

 


ข้อแนะนำการจัดเก็บสารเคมี สำหรับห้องปฏิบัติการ

สถานที่จัดเก็บขึ้นกับประเภท และขนาดของกิจการ อาจแบ่งได้เป็น

ห้องเก็บรักษาส่วนกลาง (Storerooms)
ห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่ ที่ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการย่อย เป็นจำนวนมาก อาจจำเป็นต้องมีห้องเก็บสารเคมี รวมไว้เป็นส่วนกลาง ซึ่งจะทำให้มีการจัดระบบ การจัดซื้อ และการเบิกจ่ายที่เหมาะสม ควรมีการตรวจสอบสารเคมี ที่จัดเก็บรักษาไว้เป็นระยะ ๆ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อนำสารที่มีปัญหา เช่นเสื่อมสภาพ ฉลากหลุด หรือถูกทำลาย ภาชนะรั่ว จุกหรือฝาปิดชำรุด กัดกร่อนออกไปกำจัดอย่างถูกวิธี ต้องดูแลชั้นวาง ที่ใช้จัดวางขวดสารเคมีให้แข็งแรง มั่นคง ไม่ชำรุด เพราะอาจทำให้ขวดสารเคมีที่วางไว้ เลื่อน ล้ม หรือหล่นตกลงบนพื้นได้

ห้องเก็บสาร เพื่อรอการใช้งาน (Stockrooms)
ต้องจัดการเช่นเดียวกับ Storeroom สำหรับตำแหน่งที่ตั้งของ Stockroom ไม่ควรอยู่ห่าง จากบริเวณที่จะใช้งานมาก ควรมีการระบายอากาศได้ดี ไม่ควรใช้เป็นห้องเตรียมสารเคมี แต่ควรจัดให้มีบริเวณ ที่ใช้เตรียมสารเคมี แยกไว้โดยเฉพาะ ควรเปิด Stockroom ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน เพื่อให้หยิบสารเคมี ไปใช้ได้สะดวก และป้องกัน ไม่ให้มีการสะสมสารเคมี ไว้ในห้องปฏิบัติ
การมากเกินควร ควรจัดการหมุนเวียนสารเคมีใน Stockroom อย่างมีประสิทธิภาพ กรณีที่มีการเก็บสาร ที่เปิดภาชนะบรรจุแล้ว อาจต้องจัดหาภาชนะที่เหมาะสม ใส่ซ้อน หรือมีถาดรอง

ห้องปฏิบัติการ (Laboratory)
การเก็บสารเคมีไว้ในห้องปฏิบัติการ จะต้องคำนึงถึงความสมดุล ระหว่างความสะดวกในการหยิบใช้ กับความปลอดภัย ซึ่งขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น ขีดความสามารถ ของผู้ปฏิบัติงาน ระดับความปลอดภัย ที่ออกแบบไว้ สำหรับห้องปฏิบัติการนั้น ๆ ประเภทของงานที่ปฏิบัติ ความยากง่าย ของการเข้าหยิบสารเคมีใน stockroom สารเคมีแต่ละชนิด ที่เก็บในห้องปฏิบัติการ จะต้องระบุตำแหน่งที่แน่นอน เมื่อเลิกใช้แล้ว ต้องนำมาเก็บที่เดิมเสมอ ไม่ควรเก็บสารเคมี ไว้ตามชั้นที่โต๊ะปฏิบัติการ เพราะจะไม่มี การป้องกันสารเคมีจากเปลวไฟ หากไม่ระมัดระวังพอ สารอาจตกจากชั้น ลงมาบนโต๊ะปฏิบัติการ และทำให้เกิดอันตรายได้ ไม่ควรเก็บสารเคมีไว้ในตู้ดูดควัน เพราะทำให้ขัดขวางการไหล ของกระแสอากาศภายในตู้ โดยไม่จำเป็น ควรจัดเก็บในตู้เก็บ ที่มีช่องระบายอากาศ (Vented cabinet)